Testing Noodles Pathumthani

25/1/54

ทำเลทอง ‘สิงคโปร์’ โอกาสแฟรนไชส์ไทยสู่โลก


สิงคโปร์ เป็นตลาดที่ศูนย์วิจัยพัฒนาธุรกิจค้าปลีกและแฟรนไชส์สากล (IRF) มหาวิทยาลัยศรีปทุมมองว่ามีศักยภาพ สำหรับการเปิดตัวสู่ตลาดโลกโดยเฉพาะเซาท์อีสเอเชีย อย่างมาเลเซีย อินโดนีเซีย ตะวันออกกลาง

พีระพงษ์ กิตติเวชโภคาวัฒน์ ผู้อำนวยการศูนย์ฯ กล่าวถึงศักยภาพของสิงคโปร์ว่า อันดับแรกให้น้ำหนักที่การเป็นศูนย์กลางของภูมิภาคทั้งการค้า เศรษฐกิจและแหล่งท่องเที่ยว ที่สามารถดึงนักลงทุน นักท่องเที่ยว ให้เข้าไปในประเทศหลายสิบล้านคนต่อปี
เท่ากับว่าสิงคโปร์เป็นที่รู้จักของนานาชาติทั่วโลก ดังนั้นการเข้าไปทำธุรกิจในแหล่งที่เป็นสายตาโลก เท่ากับเปิดตัวเองหรือประตูให้ชาวโลกได้รู้จัก หรือเป็นการแนะนำธุรกิจของคนไทยที่เข้าไปลงทุนให้รู้จักและเกิดการขยายไปยังประเทศอื่นๆ โดยมีทำเลที่สิงคโปร์ในการสร้างร้านต้นแบบ ธุรกิจต้นแบบให้เกิดขึ้น นับเป็นยุทธศาสตร์หนึ่งที่จะผลักดันธุรกิจแฟรนไชส์ไทยสู่โลก
ซึ่งจะเห็นได้ว่าสาขาแฟรนไชส์แต่ละรายในสิงคโปร์มีอยู่ประมาณ 10-30 สาขาเท่านั้น ดังนั้นนโยบายการผลักดันธุรกิจแฟรนไชส์สิงคโปร์ก็ออกไปโตในต่างประเทศเช่นกัน เช่นเดียวกับธุรกิจแฟรนไชส์ที่จะเข้าไปลงทุนก็ไม่จำเป็นที่ต้องมีสาขาที่มาก เพียงแต่ต้องมีร้านต้นแบบเพื่อโชว์ให้เห็นคอนเซ็ปต์ธุรกิจ
ขณะเดียวกันหากมองถึงโอกาสพื้นที่ในสิงคโปร์แล้ว จะพบว่ารัฐบาลได้ปรับพื้นที่บริเวณถนนออชาดซึ่งเป็นถนนสายเศรษฐกิจ เพื่อเกิดรีเทลชอปขึ้นจำนวนมาก ทั้งนี้เพื่อเพิ่มยอดขายสินค้าให้ได้เป็น 2 เท่า
ส่วนโอกาสของธุรกิจไทยที่จะเข้าไปลงทุนนั้น เมื่อเทียบกับการลงทุนในสิงคโปร์แล้ว ปัจจุบันอันดับหนึ่งหรือกว่า 30% ยังเป็นธุรกิจอาหารและเครื่องดื่ม รองลงมาคือธุรกิจค้าปลีก การศึกษาและธุรกิจบริการ จะเห็นว่าธุรกิจอาหารและเครื่องดื่มจะเป็นธุรกิจที่ใหญ่ที่สุดในสิงคโปร์
สอดคล้องกับข้อมูลของ Mr. Winston Lim Executive Director of BizLink Premium Services Pte Lid ผู้จัดงาน ‘Franchising & Lincensing Asia 2006’ ที่สิงคโปร์ที่จะมีขึ้นระหว่างวันที่ 31 ต.ค.-2 ก.ย. นี้ว่า ชาวสิงคโปร์ว่า ชอบการชอปปิ้งและการรับประทานอาหารเป็นชีวิตจิตใจ ธุรกิจที่มีศักยภาพในสิงคโปร์ควรเป็นประเภทอาหาร เครื่องดื่ม หรือกลุ่มค้าปลีก บริการ ทั้งธุรกิจการศึกษา ฝึกอบรม ที่ปรึกษา สปา ซึ่งเป็นธุรกิจที่ตอบสนองไลฟ์สไตล์ของคนสิงคโปร์ได้มากที่สุด
ขณะเดียวกัน การเข้าไปลงทุนยังสิงคโปร์นั้น ไม่มีระเบียบข้อบังคับที่ยุ่งยากฉะนั้นสามารถลงทุนได้เลย เมื่อเทียบกับการลงทุนที่มาเลเซียยุ่งยากกว่า เพราะต้องประกอบกิจการในประเทศนั้นมาไม่น้อยกว่า 3 ปี
พีระพงษ์ กล่าวว่า ปัจจุบันธุรกิจแฟรนไชส์ในสิงคโปร์มี 350 ธุรกิจ ประสบผลสำเร็จ 67% 19% เป็นธุรกิจที่เกิดใหม่ และ 14% เป็นธุรกิจที่ล้มเหลว ซึ่งเปรียบเทียบแล้วยังไม่เข้มแข็งเท่าญี่ปุ่น เกาหลีและอเมริกา
ถ้าเทียบจำนวนบริษัทแฟรนไชส์ต่อประชากร 1 แสนคน ในสิงคโปร์มีบริษัท 8.33 บริษัท ขณะที่ไทย 0.4-0.5 บริษัท ซึ่งเท่ากับว่าไทยสามารถขยายธุรกิจโตได้อีกกว่า 3 เท่า
ซึ่งปัจจุบันบริษัทแฟรนไชส์ในไทยมี 360 บริษัท คาดว่าในปี 2550-2551 จะมีบริษัทเพิ่มขึ้นเป็น 700 บริษัท
และสำหรับผู้ที่ต้องการไปลงทุนที่สิงคโปร์นั้น พีระพงษ์ เตือนว่า ถ้าจะไปลงทุนที่สิงคโปร์ ต้องมั่นใจว่าธุรกิจมีอะไรที่โดดเด่น คอนเซ็ปต์ธุรกิจเป็นอย่างไรและมีความแข็งแรงหรือยัง ถ้าเป็นธุรกิจอาหารควรมีจุดเด่นและสร้างความแตกต่าง ซึ่งถ้าเป็นอาหารไทยจุดเด่นคือความปราณีต แสดงออกถึงความเป็นไทยด้วยการดีไซน์หน้าตาอาหารให้ดี
ขณะเดียวกันการมองหาพาร์ทเนอร์หรือคู่ค้าในการทำธุรกิจนั้นเป็นสิ่งสำคัญ เพราะอย่ามองเพียงโลเคชั่นเพียงอย่างเดียว เพราะการทำธูรกิจในต่างประเทศ เจ้าของพื้นที่ในประเทศนั้นๆ จะรู้มากกว่าและเป็นการเกิดการเรียนรู้ซึ่งกันและกัน
นอกจากนี้ควรมีการวางแผนการดำเนินงานตั้งแต่แรก ด้านการร่วมทุนใน 3 ระยะ ระยะแรกจุดสำคัญคือการหาบริษัทที่ปรึกษาเพราะเรื่องการโอเปอเรชั่นต้องใช้ภาษาอังกฤษ
ซึ่งการหาพาร์ทเนอร์นั้น ในระยะแรกอาจจะหาพาร์ทเนอร์เป็นรายบุคคลเพื่อขยายในรูปแบบซิงเกิ้ลยูนิต เพราะตลาดสิงคโปร์เล็กทั้งพื้นที่และจำนวนประชากร
ระยะกลาง หรือเวลาการลงทุนได้ 5 ปีแล้ว นั้นควรหาพาร์ทเนอร์ที่สามารถเป็นมาสเตอร์แฟรนไชส์ได้ เพราะชาวสิงคโปร์มีความสามารถในการขยายธุรกิจในภูมิภาคทั้ง อินโดนีเซีย มาเลเซีย บรูไน และควรต้องสร้างแบรนด์ควบคู่กันไปด้วย
ระยะยาวหรือแผน 10 ปี ควรจัดตั้งบริษัทขึ้นที่สิงคโปร์ เพื่อเป็นศูนย์กลางของสำนักงานในการทำแผนการตลาดต่างๆ รวมถึงการรับความช่วยเหลือจากภาครัฐของสิงคโปร์
แต่อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ต้องระวังคือการเข้าใจข้อบังคับในการดำเนินธุรกิจ ซึ่งง่ายกว่าในหลายประเทศ เช่น จีน เพียงแต่เจ้าของกิจการต้องรักษามาตรฐาน เพราะผู้บริโภคชาวสิงคโปร์แข็งแรง และคาดหวังความเป็นมาตรฐานสากล ถ้าเมื่อไหร่แฟรนไชซอร์ไม่มีการสนับสนุน จะเกิดปัญหามากและเป็นการทำธุรกิจเพียงครั้งเดียว และต้องเข้าใจว่าตลาดต้องการอะไร ธุรกิจอะไรที่เหมาะสมที่จะเข้าไป
จะเห็นได้ว่าที่สิงคโปร์จะมีฟูดส์คอร์ทอยู่เป็นจำนวนมาก ซึ่งเป็นพื้นที่ของรัฐบาลให้เช่าในราคาไม่แพง ซึ่งการไปเช่าในพื้นที่ลักษณะ เป็นการสร้างร้านต้นแบบ ซึ่งแบล็คแคนยอนกาแฟแบรนด์ไทยก็ทำในรูปแบบนี้มาก่อนเพราะต้องสร้างแบรนด์ให้เกิดในสิงคโปร์ได้ก่อน
‘IRE’ ปลดล็อคแฟรนไชส์ตัวกลางประสานแบงก์ปล่อยกู้
หลังเปิดโครงการ Mini MBA Franchise Management ซึ่งเป็นความร่วมมือระหว่างมหาวิทยาลัยศรีปทุมและสมาคมธุรกิจแฟรนไชส์และเอสเอ็มอีไทย ได้รับความสนใจจากผู้ประกอบการจำนวนมาก จึงเล็งเห็นความสำคัญของการตั้งแหล่งรวมความรู้และพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการไทยในธุรกิจแฟรนไชส์ขึ้นมา
ทำให้เกิดการจัดตั้ง “ศูนย์วิจัยพัฒนาธุรกิจค้าปลีกและ แฟรนไชส์สากล (IRF)” ขึ้นมา ซึ่งเป็นจุดมุ่งหมายของมหาวิทยาลัย ดร.กมล ชัยวัฒน์ คณบดีคณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยศรีปทุม กล่าวว่า เป็นบทบาทในการนำองค์ความรู้พร้อมบุคลากรมาสนับสนุนสร้างความเข้มแข็งให้เกิดขึ้นกับภาคธุรกิจเพราะปัจจุบันการทำธุรกิจมีความซับซ้อนมากขึ้น จะด้วยนโยบายการค้าเสรี ที่ผู้ประกอบการต้องเผชิญกับคู่แข่งขันจากทั่วโลก ซึ่งศูนย์แห่งนี้จะพัฒนาขีดความสามารถการแข่งขันยกระดับองค์ความรู้ผู้ประกอบการไทยเทียบชั้นสากล
พีระพงษ์ กิตติเวชโภคาวัฒน์ ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ฯ ขยายความถึงหน้าที่ของศูนย์ฯ แห่งนี้ว่า จะมีการจัดทำวิจัยหัวข้อธุรกิจทั้งการศึกษาพฤติกรรมผู้บริโภค สนับสนุนการเกิดของธุรกิจแฟรนไชส์ไทยอย่างยั่งยืน โดยศูนย์แหล่งนี้จะเป็นศูนย์ที่เชี่ยวชาญเฉพาะด้านแฟรนไชส์ รวมถึงการจัดอันดับแฟรนไชส์ดีเด่นและนักธุรกิจดีเด่นขึ้นเป็นประจำทุกปี
โดยศูนย์ฯ ได้นำอุปสรรคที่เกิดกับธุรกิจแฟรนไชส์มาพูดคุยเพื่อหาแนวทางในการแก้ไขปัญหา ไม่ว่าจะเป็นการเร่งผลักดันกฏหมายแฟรนไชส์ การสนับสนุนด้านการเงิน เพื่อขยายการลงทุนทั้งในส่วนของการพัฒนาของแฟรนไชซอร์ เพื่อขยายวงเงินในการสร้างธุรกิจที่มีขนาดใหญ่พอที่จะขยายได้ต่อไปในอนาคต และความต้องการซื้อของแฟรนไชซี


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น